read more

THE DELICACY OF METHOD BETWEEN CONSERVATION PROCESSES AND ITS UNDERGROUND SUPER STRUCTURE; LUEAN RIT COMMUNITY

WITINAN WATANASAP
PROGRAM IN ARCHITECTURE, FACULTY OF ARCHITECTURE
KASETSART UNIVERSITY

The contentions raised between the Lueanrit community, which was once the building site for the new metro station, and the Metropolitan Rapid Transit spurred the relocation of the station from the Lueanrit community to Wang Burapha station. This project aims to demonstrate the typology of the

experimental architecture that gives priority to the design processes of both spaces to amalgamate work systems including the conservation process of the collective buildings in the Lueanrit community and the work system of the metro station. These two systems are different in terms of their spatial usage, structure and the publicity of the metro station in comparison to the privacy of the residences. The contextual constraints between the two according systems led to the occurred type of the metro station that specifically meets the conservation of the collective buildings on the site and in the urban context of the surrounding environment as well as places importance on the travel experiences of the station’s visitors. Besides, the locals could also improve their quality of life, from increased trade and dwelling opportunities to transportation options.

E. w.witinan@gmail.com
T. 097 250 6781

สถานี I ชุมชน I เลื่อนฤทธิ์

วิธินันท์ วัฒนศัพท์
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากกรณีพิพาทย์ระหว่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ซึ่งเคยเป็นจุดที่จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ากับองค์การรถไฟฟ้ามหาชนเป็นกรณีศึกษา แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ สถานีดัง-กล่าวจึงถูกย้ายตำแหน่งจากบริเวณชุมชนเลื่อนฤทธิ์ไปยังสถานีวังบูรพา ซึ่งนำไปสู่หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอวิธีการหารูปแบบของสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง ที่ให้ความสำคัญกับวิธีการออกแบบ และวิธีการผสานระบบการทำงาน 2 ระบบ คือ ระบบการอนุรักษ์กลุ่มอาคารเก่าของชุมชนเลื่อนฤทธิ์ และระบบการทำงานของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของการใช้งานเชิงพื้นที่ ความเป็นพื้นที่สาธารณะของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ความเป็นส่วนตัวของพื้นที่พักอาศัย และลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกัน จากข้อจำกัดของบริบทโดยรอบ ร่วมกับระบบทั้งสองในข้างต้น ส่งผลให้รูปแบบของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่เกิดขึ้นมีความเฉพาะเจาะจง ตอบสนองต่อการอนุรักษ์กลุ่มอาคารเก่าในพื้นที่ บริบทของเมือง สภาพแวดล้อมโดยรอบ และให้ความสำคัญกับประสบการณ์การเดินทางของผู้ที่เข้ามาใช้งานสถานี อีกทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน ยังสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งการค้าขาย การอยู่อาศัย และการคมนาคม