read more

โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพเพื่อคนชายขอบ

เจษฎา ใบยา
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 จากปัญหาการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์ที่มีข้อจำกัดในด้านภาระค่าใช้จ่ายสูง และการเข้าถึงพื้นที่ชนบท ทำให้ไม่สามารถบริการได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นการกลับไปแสวงหาและฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในด้านต่างๆของกลุ่มชาติพันธุ์จึงเกิด สถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาในการรักษาแบบดั้งเดิมมาพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการ ศึกษาพื้นที่กิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์คนชายขอบที่สำคัญที่สุด คือ โครงสร้างด้านสุขภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เดิม การรักษาทางด้านกาย และจิตใจ รวมถึงความเชื่อในภูติ ผี วิญญาณ ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราทั้งสิ้น ฉะนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดก็คือ การนำพื้นฐานของสิ่งๆนั้นที่เกิดขึ้นอยู่แล้วนำมาพัฒนาเพื่อให้เกิดเป็นรูปแบบการรักษาได้อย่างเป็นกระบวนการและเกิดประสิทธิผลสูงสุด


THE INFRASTRUCTURE HEALTH FOR MARGINAL PEOPLE

JEDSADA BAIYA
PROGRAM IN ARCHITECTURE,FACULTY OF ARCHITECTURE
RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THANYABURI

The importation of medical equipment is limited because of the high costs involved. Lack of access to rural areas mean that it is impossible to service the aforesaid equipment satisfactorily. Therefore it is necessary to seek out local knowledge and to use this to encourage the development of new technologies that blend together. The cultural wisdom of various ethnic groups must be promoted to maintain the health of the ethnic groups in this area. Regarding the marginalized ethnic groups of this area, what is of most importance is cultural inheritance. Keeping both physically and mentally healthy is importance and this can be helped by a belief in the soul or the spirit as this can affect the health of the people.
Therefore the development of infrastructure is the best way to achieve this end. Use the knowledge and belief which have already been developed to achieve an affective treatment.


E-MAIL : jedsadabaiya@gmail.com

Tel : 088-282-5894